Take Profit และ Stop Loss คือใช้ยังไงตั้งเท่าไรดี

Stop Loss คืออะไร? Take Profit คืออะไร? สอนวิธีการตั้ง, การหาจุด TP และ SL โดยใช้ Indicator ว่าควรตั้งเท่าไหร่ดี ทำได้ทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์

แนะนำสำหรับคุณ

Stop Loss คืออะไร?

Stop Loss (SL) คือ คำสั่งในการระบุราคาที่แน่นอนในการปิดออเดอร์ที่เปิดไว้เพื่อไม่ให้ราคาต่ำไปกว่าที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้สำหรับการหยุดขาดทุน หรืออาจใช้ในกรณีป้องกันไม่ให้กำไรลดลงต่ำไปกว่าจุดที่กำหนดก็ได้

ตัวอย่างการตั้ง Stop Loss

ตัวอย่าง 1

เปิดออเดอร์ BUY ในคู่เงิน EURUSD ที่ 1.00915 โดยตั้ง Stop Loss (SL) ไว้ที่ 1.00832 ต่อมาหากราคาวิ่งไปถึง 1.00832 ระบบก็จะปิดออเดอร์เพื่อหยุดขาดทุนให้อัตโนมัติ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ %E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-Stop-Loss.jpg

ตัวอย่าง 2

เปิดออเดอร์ BUY ในคู่เงิน EURUSD ที่ 1.00850 ต่อมาราคาวิ่งไปที่ 1.00869 (เราได้กำไรแล้ว) เราจึงตั้ง Stop Loss (SL) ไว้ที่ 1.00858 ต่อมาหากราคาวิ่งลงไปถึง 1.00858 ระบบก็จะปิดออเดอร์เพื่อรับผลกำไรให้อัตโนมัติ

ซึ่งการตั้ง Stop Loss ในรูปแบบนี้มันช่วยการันตีว่าเราจะไม่กลับไปขาดทุนอีก เนื่องจากเราได้ตั้ง Stop Loss สูงกว่าตอนที่เราเปิดออเดอร์ (สามารถตั้ง Stop Loss รูปแบบนี้ได้เฉพาะตอนออเดอร์ที่ถืออยู่ได้กำไรแล้วเท่านั้น)

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ %E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-Stop-Loss-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3.jpg

วิธีการตั้ง Stop Loss Forex

วิธีการตั้ง Stop Loss Forex บนโทรศัพท์มือถือ

กรณียังไม่เปิดออเดอร์

  1. กดที่เมนู “Quotes”
  2. กดที่คู่เงินที่ต้องการเทรด
  3. กด “คำสั่งใหม่”
  4. กรอกจุด Stop Loss ลงในช่อง SL
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-Stop-Loss-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-2-1596x1080.jpg

กรณีเปิดออเดอร์แล้ว

  1. กดที่เมนู “การซื้อขาย”
  2. กดค้างไว้ที่ออเดอร์ที่ต้องการตั้ง Stop Loss
  3. กด “ปรับเปลี่ยนสถานะ”
  4. กรอกจุด Stop Loss ที่ต้องการลงในช่อง SL
  5. กด “ปรับเปลี่ยน”
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-Stop-Loss-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-2-1607x1080.jpg

วิธีการตั้ง Stop Loss Forex บนคอมพิวเตอร์

กรณียังไม่เปิดออเดอร์

  1. คลิกขวาที่กราฟ
  2. เอาเมาส์ชี้ที่เมนู “Trading”
  3. กด “New Order”
  4. กรอกจุด Stop Loss ที่ต้องการลงในช่อง “Stop Loss:”
11 วิธีการตั้ง Stop Loss บนคอมพิวเตอร์

กรณีเปิดออเดอร์แล้ว

  1. คลิกขวาที่ออเดอร์ที่ต้องการตั้ง Stop Loss
  2. กดที่เมนู “Modify or Delete”
  3. กรอกจุด Stop Loss ลงในช่อง “Stop Loss:”
  4. กด “Modify”
13 วิธีการตั้ง Stop Loss บนคอมพิวเตอร์ ตอนเปิดออเดอร์แล้ว 2

การหาจุด Stop Loss

การหาจุด Stop Loss ว่าควรตั้งตรงไหนเท่าไหร่ดีนั้น สามารถทำได้หลายวิธี

และนี่คือตัวอย่างบางส่วน:

1.การตั้ง Stop Loss ที่แนวรับแนวต้าน

แนวรับแนวต้านคือจุดที่ราคาไปแตะแล้วมักจะมีการกลับตัว แต่หากผ่านไปได้แปลว่าได้มีการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา แนวรับแนวต้านเลยเป็นจุดที่ดีมากๆในการตั้งจุด Stop Loss

เช่น จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าราคามักไปแตะเส้นสีฟ้าแล้วเด้งขึ้น แบบนี้จะเรียกว่าแนวรับ

ทีนี้ตอนเทรด เช่น หากจะเปิดออเดอร์ BUY ก็ตั้ง Stop Loss ไว้ที่แนวรับ

1 ตั้ง stop loss ตรงแนวรับ

2.การตั้ง Stop Loss โดยการใช้ Fibonacci Retracement

เริ่มแรกให้เราลาก Fibonacci Retracement จากจุดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุด จากนั้นก็ตั้ง Stop Loss ไว้ที่จุดต่างๆ

เช่น จากภาพนี้หากจะเปิดออเดอร์ SELL ก็ควรจะตั้ง Stop Loss ไว้ที่เส้น Fibonacci Retracement 100 (หรือเส้นอื่นๆก็ได้ตามรูปแบบกราฟและระบบเทรดของคุณ)

5 ตั้ง Stop Loss ที่ Fibonacci

3.การหาจุด Stop Loss โดยใช้ indicator

มี Indicator ต่างๆมากมายในการใช้เป็นจุด Stop Loss จะขอยกตัวอย่าง Indicator ที่นิยมใช้กันมาให้ดู

3.1.การหาจุด Stop Loss โดยใช้ indicator Moving Average

เช่นจากตัวอย่างนี้เราเปิดออเดอร์ BUY แล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่เส้น Moving Average 200

8 Stop Loss จาก moving average 200

3.2.การหาจุด Stop Loss โดยใช้ indicator Bollinger Bands

เช่น จากตัวอย่างนี้เราเปิดออเดอร์ BUY แล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่เส้น Bollinger Bands เส้นล่างสุด

9 Stop Loss จาก Bollinger Bands

4.การตั้ง Stop Loss แบบตายตัว

4.1.การตั้ง Stop Loss เป็นจุดหรือ Pip

เช่น ตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 200 จุด, ตั้ง Take Profit ไว้ที่ 30 Pip

4.2.การตั้ง Stop Loss เป็น % ของเงินทุน

เช่น ตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 2% ของเงินทุน

สมมุติ มีเงินทุน 500 USD เทรด EURUSD ที่ 0.01 Lot

หากต้องการตั้ง Stop Loss ที่ 2% ของเงินทุน ก็แปลว่ารับผลขาดทุนได้ 10 USD

ซึ่งแปลว่าต้องตั้ง Take Profit ไว้ที่ 1000 จุด

Stop Loss ข้อดีข้อเสีย

Stop Loss ข้อดี

  • ช่วยจำกัดความเสียหายในการขาดทุนให้อยู่ในระดับที่เรารับได้
  • ป้องกันไม่ให้เกิดการล้างพอร์ตหรือการขาดทุนจนเงินเหลือ 0
  • ทำให้ทราบผลขาดทุนที่จะเกิดล่วงหน้าว่าเป็นเงินเท่าไร ช่วยให้จัดสรรเงินลงทุนได้ง่าย
  • ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลาเพื่อคอยกดปิดออเดอร์ด้วยตนเอง
  • ช่วยลดความกังวล เพราะเมื่อตั้ง Stop Loss ไว้แล้วเราก็อุ่นใจได้ว่าจะไม่ขาดทุนไปมากกว่าจุดทั้งเราตั้งไว้
  • สามารถใช้ Stop Loss ในการล็อกผลกำไรได้ ไม่ให้เรากลับไปขาดทุนอีก (ในกรณีที่ออเดอร์นั้นได้กำไรแล้ว)

Stop Loss ข้อเสีย

  • ในบางครั้งที่ราคาผันผวนมากๆอาจเหวี่ยงลงมาชนจุด Stop Loss ได้ง่าย เช่น มันอาจจะลงมาไม่กี่วินาทีก็กลับไปที่จุดเดิม
  • การตั้ง Stop Loss ที่น้อยจนเกินไปทำให้มีโอกาสโดน Stop Loss ได้ง่าย เช่น ตั้ง Stop Loss ไว้แค่ 50 จุด โอกาสที่จะโดน Stop Loss มีเยอะมากๆ

Take Profit คืออะไร?

Take Profit (TP) คือ คำสั่งในการระบุราคาที่แน่นอนในการปิดออเดอร์ที่เปิดไว้เพื่อทำกำไร เช่น เปิดออเดอร์ BUY ในคู่เงิน EURUSD ที่ 1.20000 โดยตั้ง Take Profit (TP) ไว้ที่ 1.25000 ต่อมาหากราคาวิ่งไปถึง 1.25000 ระบบก็จะปิดออเดอร์เพื่อรับผลกำไรให้อัตโนมัติ

ตัวอย่างการตั้ง Take Profit

เปิดออเดอร์ BUY ในคู่เงิน EURUSD ที่ราคา 1.00926 แล้วตั้ง Take Profit (TP) ไว้ที่ราคา 1.01040

หากในเวลาต่อมาราคาวิ่งจาก 1.00926 ไปถึง 1.01040 ระบบก็จะทำการปิดออเดอร์เพื่อรับผลกำไรให้เราโดยอัตโนมัติ โดยระหว่างนั้นเราสามารถปิดคอมพิวเตอร์หรือมือถือไปได้เลย เพียงแค่รอให้ราคามันวิ่งไปเท่านั้น

ตัวอย่างการตั้ง Take Profit

วิธีการตั้ง Take Profit Forex

วิธีการตั้ง Take Profit Forex บนโทรศัพท์มือถือ

กรณียังไม่เปิดออเดอร์

  1. กดที่เมนู “Quotes
  2. กดที่คู่เงินที่ต้องการเทรด
  3. กด “คำสั่งใหม่”
  4. กรอกจุด Take Profit ลงในช่อง TP
วิธีการตั้ง Take Profit บนโทรศัพท์มือถือ ในกรณียังไม่เปิดออเดอร์ 2

กรณีเปิดออเดอร์แล้ว

  1. กดที่เมนู “การซื้อขาย”
  2. กดค้างไว้ที่ออเดอร์ที่ต้องการตั้ง Take Profit
  3. กด “ปรับเปลี่ยนสถานะ”
  4. กรอกจุด Take Profit ที่ต้องการลงในช่อง TP
  5. กด “ปรับเปลี่ยน”
วิธีการตั้ง Take Profit บนโทรศัพท์มือถือ ในกรณีเปิดออเดอร์แล้ว 2

วิธีการตั้ง Take Profit Forex บนคอมพิวเตอร์

กรณียังไม่เปิดออเดอร์

  1. คลิกขวาที่กราฟ
  2. เอาเมาส์ชี้ที่เมนู “Trading”
  3. กด “New Order”
  4. กรอกจุด Take Profit ที่ต้องการลงในช่อง “Take Profit:”
10 วิธีการตั้ง Take Profit บนคอมพิวเตอร์

กรณีเปิดออเดอร์แล้ว

  1. คลิกขวาที่ออเดอร์ที่ต้องการตั้ง Take Profit
  2. กดที่เมนู “Modify or Delete”
  3. กรอกจุด Take Profit ลงในช่อง “Take Profit:”
  4. กด “Modify”
12 วิธีการตั้ง Take Profit บนคอมพิวเตอร์ ตอนเปิดออเดอร์แล้ว 2

การหาจุด Take Profit

การหาจุด Take Profit ว่าควรตั้งตรงไหนเท่าไหร่ดีนั้น สามารถทำได้หลายวิธี

และนี่คือตัวอย่างบางส่วน:

1.การตั้ง Take Profit ที่แนวรับแนวต้าน

แนวรับแนวต้านคือจุดที่ราคาไปแตะแล้วมักจะมีการกลับตัว แต่หากผ่านไปได้แปลว่าได้มีการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา แนวรับแนวต้านเลยเป็นจุดที่ดีมากๆในการตั้งจุด Take Profit

เช่น จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าราคามักไปแตะเส้นสีชมพูแล้วเด้งลง แบบนี้จะเรียกว่าแนวต้าน

ทีนี้ตอนเทรด เช่น หากจะเปิดออเดอร์ BUY ก็ควรตั้ง Take Profit ไว้ที่เส้นแนวต้าน (เส้นสีชมพู)

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ 2-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-stop-loss-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg

2.การตั้ง Take Profit โดยการใช้ Fibonacci Retracement

การใช้ Fibonacci เป็นจุด Take Profit ก็นิยมใช้กันมากๆ

เริ่มแรกให้เราลาก Fibonacci Retracement (ดูวิธีลากได้ใน Google) จากนั้นก็ตั้ง Take Profit ไว้ที่จุดต่างๆ

เช่น ตัวอย่างนี้หากจะเปิดออเดอร์ SELL ก็ควรจะตั้ง Take Profit ไว้ที่เส้น Fibonacci 76.4 (หรือที่เส้นอื่นๆก็ได้ตามรูปแบบกราฟและระบบการเทรด Forex ของคุณ)

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ 3-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-Take-Profit-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-Fibonacci.jpg

3.การหาจุด Take Profit โดยใช้ indicator

มี Indicator ต่างๆมากมายในการใช้เป็นจุด Take Profit จะขอยกตัวอย่าง Indicator ที่นิยมใช้กันมาให้ดู

3.1.การหาจุด Take Profit โดยใช้ indicator RSI

เช่น จากตัวอย่างนี้หากเปิดออเดอร์ BUY ก็จะ Take Profit เมื่อ RSI ตัดเส้น 70 ลงมา

6 take profit จาก rsi

3.2.การหาจุด Take Profit โดยใช้ indicator Stochastic

เช่น จากตัวอย่างนี้หากเปิดออเดอร์ BUY อยู่ ก็จะ Take Profit เมื่อเส้นเขียวตัดเส้นประแดงลง ขณะมี %K มากกว่า 80

7 Teke Profit จาก Stochastic

4.การตั้ง Take Profit แบบตายตัว

4.1.การตั้ง Take Profit เป็นจุดหรือ Pip

เช่น ตั้ง Take Profit ไว้ที่ 100 จุด, ตั้ง Take Profit ไว้ที่ 20 Pip

4.2.การตั้ง Take Profit เป็น % ของเงินทุน

เช่น ตั้ง Take Profit ไว้ที่ 1% ของเงินทุน

สมมุติ มีเงินทุน 100 USD เทรด EURUSD ที่ 0.01 Lot

หากต้องการตั้ง Take Profit ที่ 1% ของเงินทุน ก็แปลว่าต้องได้กำไร 1 USD

ซึ่งแปลว่าต้องตั้ง Take Profit ไว้ที่ 100 จุด

Take Profit ข้อดีข้อเสีย

Take Profit ข้อดี

  • การันตีกำไรหากราคาวิ่งไปยังจุดที่เราวิเคราะห์ไว้
  • ประหยัดเวลาไม่ต้องนั่งเฝ้ากราฟทั้งวันเพื่อกดปิดออเดอร์ด้วยตัวเอง
  • ลดความเสี่ยงจากการเหวี่ยงขึ้นลงของราคาอย่างรวดเร็ว เพราะบางครั้งหากเรารอกดปิดออเดอร์ด้วยตนเองอาจกดไม่ทัน

Take Profit ข้อเสีย

  • ไม่ได้กำไรสูงที่สุด เพราะในบางกรณีราคาอาจวิ่งไปต่อได้อีกเยอะแต่เรากำหนดจุด Take Profit ไว้แล้วจึงโดนปิดออเดอร์ไปเสียก่อน

วิธีคำนวณ Take Profit และ Stop Loss

วิธีคำนวณว่าต้องตั้ง Take Profit และ Stop Loss ที่เท่าไหร่

*วิธีการนี้ใช้สำหรับการตั้ง Take Profit และ Stop Loss ที่คุณทราบจำนวนเงินแบบตายตัวเท่านั้น เช่น จะตั้ง Take Profit ให้ได้กำไร 100 USD และจะตั้ง Stop Loss ให้ตัดขาดทุนที่ 50 USD

*วิธีการคำนวณนี้ใช้ได้กับทุกโบรกเกอร์ Forex

เริ่มแรกไปที่ xm.com/th/forex-calculators/profit-loss

แล้วทำตามนี้

  1. สกุลเงินหลักของบัญชี: กดเลือกสกุลเงินของบัญชีเทรดของคุณ
    • (ส่วนใหญ่เป็น USD)
  2. ราคาเปิด: กรอกราคา ณ จุดที่คุณเปิดออเดอร์
  3. คู่สกุลเงิน: กดเลือกคู่สกุลเงินที่คุณเทรด
  4. ตั้งค่า Stop Loss: กรอกว่าจะตั้ง Stop Loss คิดเป็นเงินกี่ USD
    • (หรือหน่วยอื่นๆตามบัญชีเทรดของคุณ)
  5. ประเภทของบัญชี: ไม่ว่าใช้โบรกเกอร์ไหนให้เลือก Standard (1 lot = 100,000)
    • (หากไม่ได้ใช้บัญชี Cent, Mini, Micro ให้เลือก Standard แต่ถ้าใช้ให้เลือก Micro)
  6. ตั้งค่า Take Profit: กรอกว่าจะตั้ง Take Profit คิดเป็นเงินกี่ USD
    • (หรือหน่วยอื่นๆตามบัญชีเทรดของคุณ)
  7. ปริมาณเป็นจำนวน Lot: กรอก Lot Size ที่เทรด
  8. ประเภทของการเทรด: กดเลือกว่าเปิดออเดอร์ BUY หรือ SELL
    • หากเปิดออเดอร์ BUY ให้เลือก ซื้อ / LONG
    • หากเปิดออเดอร์ SELL ให้เลือก ขาย / SHORT
  9. กดคำนวณ

เช่น หากผมเทรด EURUSD ในบัญชี Standard

  • เปิดออเดอร์ BUY
  • ที่ 0.01 Lot
  • ที่ราคา 1.01536
  • ต้องการได้กำไรที่ 10 USD
  • ต้องการตัดขาดทุนที่ 5 USD

แล้วอยากรู้ว่าต้องตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss ที่เท่าไหร่ก็กรอกตามนี้เลย

14 วิธีคำนวณว่าต้องตั้ง Take Profit และ Stop Loss ที่เท่าไหร่

ซึ่งจากภาพนี้แปลว่าหากผมเทรด EURUSD 0.01 Lot ที่ราคา 1.01536 แล้วอยากได้กำไรที่ 10 USD และ ตัดขาดทุนที่ 5 USD ต้องตั้งจุด Take Profit ที่ 1.02536 และต้องตั้ง Stop Loss ที่ 1.01036

วิธีคำนวณว่าหากตั้ง Take Profit และ Stop Loss ที่ x จุดจะได้กำไร/ขาดทุนเท่าไหร่

วิธีการนี้ใช้สำหรับคนที่จะตั้ง Take Profit และ Stop Loss แบบเป็นจุด แล้วอยากทราบว่าหากกำไรหรือขาดทุนจะได้เท่าไร

เช่น หากอยากรู้ว่าเทรด EURUSD แล้วจะตั้ง Take Profit 200 จุด และ Stop Loss 100 จุด มันจะได้กำไรเท่าไรหรือขาดทุนเท่าไร

เริ่มแรกไปที่ xm.com/th/forex-calculators/profit-loss

แล้วเลื่อนไปที่หัวข้อ “ระดับ Stop loss / Take Profit”

จากนั้นกรอกรายละเอียดต่างๆ

เช่น ผมเทรด EURUSD ที่ 0.01 Lot อยากทราบว่าหากตั้ง Take Profit 200 จุด และ Stop Loss 100 จุด มันจะได้กำไรเท่าไรหรือขาดทุนเท่าไร

ก็กรอกรายละเอียดดังนี้

  1. สกุลเงินหลักของบัญชี: กดเลือกสกุลเงินของบัญชีเทรดของคุณ (ส่วนใหญ่เป็น USD)
  2. ปริมาณเป็นจำนวน Lot: กรอก Lot Size ที่จะเทรด
  3. คู่สกุลเงิน: กดเลือกคู่สกุลเงินที่จะเทรด
  4. ตั้ง Stop Loss ที่ (จุด): กรอกว่าจะตั้ง Stop Loss ที่กี่จุด
  5. ประเภทของบัญชี: ไม่ว่าใช้โบรกเกอร์ไหนให้เลือก Standard (1 lot = 100,000)
    • (หากไม่ได้ใช้บัญชี Cent, Mini, Micro ให้เลือก Standard แต่ถ้าใช้ให้เลือก Micro)
  6. ตั้ง Take Profit ที่ (จุด): กรอกว่าจะตั้ง Take Profit ที่กี่จุด
  7. กดคำนวณ
15 วิธีคำนวณว่าหากตั้ง Take Profit และ Stop Loss ที่ x จุดจะได้กำไร ขาดทุนเท่าไร

จากตัวอย่างนี้หมายความว่าหากผมเทรด EURUSD ที่ 0.01 Lot โดยตั้ง Take Profit 200 จุด และ Stop Loss 100 จุด หากได้กำไรจะได้ 2 USD และหากขาดทุนจะได้ 1 USD

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับ Take Profit และ Stop Loss

คำถามที่พบบ่อย faq

Take Profit สามารถตั้งที่กี่ % ของพอร์ตก็ได้ขึ้นอยู่กับระบบเทรดของคุณ แต่การตั้ง Stop Loss เทรดเดอร์มืออาชีพโดยส่วนใหญ่จะตั้งไม่เกิน 2% ของเงินทุน

ไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการหาจุด Take Profit และ Stop Loss แต่โดยประสบการณ์เทรดส่วนตัวของผมมักจะใช้แนวรับแนวต้านในการเป็นจุด Take Profit และ Stop Loss

Take Profit หรือ Stop Loss เกิน/ไม่ทำงาน นั้นเกิดจากการที่ราคาพุ่งแรงมากๆ (มักเกิดตอนมีข่าวสำคัญๆประกาศ) ทำให้จุด Take Profit หรือ Stop Loss ไม่ทำงานตรงจุดที่ตั้งไว้ แต่กลับไปทำงานในจุดที่เกินกว่าที่ตั้งไว้แทน
หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเราสามารถติดต่อทีมงานของโบรกเกอร์เพื่อให้เขาชดเชยเงินคืนให้ได้ (บางโบรกเกอร์ก็คืนบางโบรกเกอร์ก็ไม่คืน)

Stop Loss คือการหยุดขาดทุน หรืออาจใช้ในกรณีป้องกันไม่ให้กำไรลดลงต่ำไปกว่าจุดที่กำหนดก็ได้ แต่ Cut Loss จะหมายถึงการหยุดขาดทุนเท่านั้น

Stop Loss คือ คำสั่งในการระบุราคาที่แน่นอนในการปิดออเดอร์ที่เปิดไว้เพื่อไม่ให้ราคาต่ำไปกว่าที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้สำหรับการหยุดขาดทุน หรืออาจใช้ในกรณีป้องกันไม่ให้กำไรลดลงต่ำไปกว่าจุดที่กำหนดก็ได้ แต่ Stop Limit เป็นการสร้างคำสั่งซื้อ/ขาย ณ ราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

Stop Loss ในออเดอร์ BUY จะต้องตั้งในราคาที่ต่ำกว่าจุดที่เราเปิดออเดอร์ แต่ Stop Loss ในออเดอร์ SELL จะต้องตั้งในราคาที่สูงกว่าจุดที่เราเปิดออเดอร์

จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตั้ง Stop Loss เพราะมันมีข้อดีมากมายเช่น ช่วยจำกัดการขาดทุนให้อยู่ในระดับที่เรายอมรับได้, ช่วยป้องกันการล้างพอร์ตหรือขาดทุนจนเหลือ 0, ช่วยประหยัดเวลาไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอทั้งวัน และอื่นๆ

ไม่จำเป็นต้องตั้งจุด Take Profit ไว้ก็ได้หากคุณมีเวลานั่งเฝ้าหน้าจออยู่ตลอดเวลา หรือถ้าหากคุณเป็นเทรดเดอร์ระยะยาวที่มีเป้าหมายในการทำกำไรที่ไกลจากราคา ณ ปัจจุบันมากๆ ก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง Take Profit ก็ได้

Take Profit ในออเดอร์ BUY จะต้องตั้งในราคาที่สูงกว่าจุดที่เราเปิดออเดอร์ แต่ Take Profit ในออเดอร์ SELL จะต้องตั้งในราคาที่ต่ำกว่าจุดที่เราเปิดออเดอร์

Take Profit เป็นการกำหนดแบบตายตัวว่าจะปิดออเดอร์เพื่อรับผลกำไร ณ ตอนไหน (เช่น ณ ราคา 138.66, ณ ตอนได้กำไร 10%, ณ ตอน RSI ตัดเส้น 70 ลง) แต่ Let Profit Run คือการปล่อยกำไรให้วิ่งไปเรื่อยๆ ตามแนวโน้มของราคาโดยไม่มีจุดตายตัว แล้วค่อยกดปิดออเดอร์ด้วยตัวเอง

แนะนำสำหรับคุณ

มีคำถาม? ทัก LINE เลย

กดเพื่อติดต่อเราทางไลน์

หรือแอดไลน์ไอดี: @sakainvest (มี @)

Similar Posts