
บทความนี้เรามาทำความรู้จัก OverTrade สาเหตุหลักของการล้างพอร์ตหรือการขาดทุนจนเหลือ 0 เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงการ OverTrade ได้นั่นเอง
ดูเป็นคลิปกดด้านล่างเลย
OverTrade คืออะไร
OverTrade คือการเทรดแบบเกินพอดี ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ การเทรดด้วย Lot Size ที่สูงจนเกินไป และการเทรดบ่อยจนเกินไป โดยมักเกิดจากการอยากได้กำไรเยอะๆในเวลาสั้นๆ หรืออยากได้เงินที่ขาดทุนไปกลับมาไวๆ ซึ่งผลลัพธ์ของการ OverTrade มักจะจบด้วยการล้างพอร์ตหรือการขาดทุนจนเหลือ 0
ผลเสียของการ OverTrade
- ทำให้ล้างพอร์ต (ขาดทุนจนเหลือ 0) ได้ง่าย
- ทำให้ไม่มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่น เพราะนั่งเฝ้ากราฟทั้งวัน
- ทำให้หงุดหงิด เครียด หดหู่
- ทำให้มีโอกาสขาดทุนได้สูง เนื่องจากการ OverTrade มักเกิดกับมือใหม่ที่ไม่ได้วางแผนการเทรดที่ดีก่อนเข้าออเดอร์
ลักษณะอาการของคนที่ OverTrade
- หงุดหงิดเมื่อขาดทุน รู้สึกอยากเอาคืนไวๆ
- เทรดมั่วๆ โดยไม่มีระบบการเทรด
- ใส่ Lot Size มั่วๆ โดยไม่มีการคำนวณ Lot Size
- นั่งเฝ้ากราฟทั้งวัน
- เปลี่ยนระบบการเทรดไปเรื่อยๆ
- เปิดออเดอร์เยอะ โดยเหตุผลที่เข้าออเดอร์ในแต่ละออเดอร์นั้นแตกต่างกันออกไป
สาเหตุของการ OverTrade
1.ไม่คำนวณ Lot Size ก่อนเทรด
หากแต่ละครั้งที่คุณเทรดคุณกรอก Lot Size แบบมั่วๆ โดยนึกตัวเลขเอาเอง ก็แปลว่าคุณมีโอกาสสูงที่กำลัง OverTrade อยู่
2.ไม่มีระบบการเทรด
หากทุกวันนี้คุณกำลังเทรดอยู่แบบมั่วๆ ไม่ได้มีระบบเทรดที่สามารถทำซ้ำและวัดผลลัพธ์ได้ แปลว่าคุณเข้าข่ายการ OverTrade
เนื่องจากหากคุณไม่มีระบบเทรดแปลว่าคุณสามารถเปิดออเดอร์ได้ทั้งวันโดยการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเทรดไปเรื่อยๆ ซึ่งมันก็จะวัดผลการเทรดไม่ได้เลยว่าการที่คุณได้กำไรนั้นมันมาจาก Indicator หรือรูปแบบการเทรดอันไหน
วิธีแก้การ OverTrade
สาเหตุหลักของการ OverTrade คือการเทรดด้วย Lot Size ที่สูงจนเกินไป และการเทรดบ่อยจนเกินไป ซึ่งแก้ได้โดยการคำนวณ Lot Size ก่อนเทรดและการหาระบบเทรดที่ทำกำไรได้
1.คำนวณ Lot Size ก่อนเทรด
หากคุณคำนวณ Lot Size ก่อนการเทรดมันก็จะแก้ปัญหาการ OverTrade แบบเปิดออเดอร์โดยใช้ Lot Size สูงเกินตัวไปได้แบบ 100%
1.1.หาจำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์
ก่อนอื่นคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าคุณรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน
- เสี่ยงต่ำ: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 1 % ของเงินลงทุน
- เสี่ยงกลาง: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 5 % ของเงินลงทุน
- เสี่ยงสูง: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 10 % ของเงินลงทุน
เช่น ในตัวอย่างนี้ผมรับความเสี่ยงได้สูง คือขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 10 % ของเงินทุน
สมมุติผมมีทุน 100 USD
ก็นำ 100 x 10 % = 10
1.2.หาว่าจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่กี่จุด
เช่น ตัวอย่างนี้ผมจะเปิดออเดอร์ BUY คู่เงิน EURUSD ที่ราคา 1.10360 และจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่ 1.09774
ก็นำ 1.10360 – 1.09774 = 0.00586
ก็คือจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่ 586 จุดนั่นเอง
(ดูวิธีนับจุด→ วิธีนับจุด Forex)
1.3.คำนวณ lot forex ที่เหมาะสม
สูตรคำนวณ lot forex ที่เหมาะสม = จำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์ ÷ จะตั้ง Stop Loss (SL) ที่กี่จุด
เช่น จำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์ของผมคือ 10 USD และผมจะตั้ง Stop Loss 586 จุด
จะได้ lot forex ที่เหมาะสม = 10 ÷ 586
= 0.017064
หากได้ทศนิยมมากกว่า 2 ตำแหน่งให้ตัดทิ้ง เอาแค่ทศนิยม 2 ตำแหน่งแรกเท่านั้น
จากตัวอย่างนี้จะได้ lot forex ที่เหมาะสมคือ 0.01 นั่นเอง
2.หาระบบเทรดที่ทำกำไรได้
หากคุณมีระบบเทรดที่ดีที่สามารถใช้ทำกำไรได้ ก็จะช่วยให้คุณไม่ซื้อๆขายๆบ่อย
เนื่องจากคุณจะเปิดออเดอร์เฉพาะตอนที่เงื่อนไขการเปิดออเดอร์ตรงกับระบบเทรดของคุณเท่านั้น
ช่วยแก้ปัญหาการเปิดออเดอร์บ่อยๆ ความหงุดหงิดอยากได้เงินคืน และลดเวลาในการเฝ้ากราฟทั้งวัน
ซึ่งระบบเทรด Forex นั้นก็มีเยอะมาก โดยคำแนะนำในการเลือกระบบเทรดก็คือ
ให้คุณเข้า Google, YouTube แล้วพิมพ์คำว่า “ระบบเทรด Forex”
ก็จะมีคนสอนระบบเทรดต่างๆไว้มากมาย
ต่อมาให้คุณนำระบบเทรดนั้นไปทดลองเทรดในบัญชีทดลอง (Demo Account) อย่างน้อยสัก 10 ออเดอร์
ถ้าหากผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือกำไร คุณก็สามารถนำระบบการเทรดนั้นไปใช้ในบัญชีเงินจริง (Real Account)
แชร์บทความนี้
มีคำถาม? ติดต่อเราเลยทาง LINE
หรือแอดไลน์ไอดี: @sakainvest (มี @)