บทความนี้เรามาทำความรู้จักโอเวอร์เทรด (OverTrade) สาเหตุหลักของการล้างพอร์ตหรือการขาดทุนจนเหลือ 0 เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงการ OverTrade ได้นั่นเอง
แนะนำสำหรับคุณ
ดูเป็นคลิปกดด้านล่างเลย
OverTrade คืออะไร
OverTrade คือการเทรดแบบเกินพอดี ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ การเทรดด้วย Lot Size ที่สูงจนเกินไป และการเทรดบ่อยจนเกินไป โดยมักเกิดจากการอยากได้กำไรเยอะๆในเวลาสั้นๆ หรืออยากได้เงินที่ขาดทุนไปกลับมาไวๆ ซึ่งผลลัพธ์ของการ OverTrade มักจะจบด้วยการล้างพอร์ตหรือการขาดทุนจนเหลือ 0
ผลเสียของการ OverTrade
- ทำให้ล้างพอร์ต (ขาดทุนจนเหลือ 0) ได้ง่าย
- ทำให้ไม่มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่น เพราะนั่งเฝ้ากราฟทั้งวัน
- ทำให้หงุดหงิด เครียด หดหู่
- ทำให้มีโอกาสขาดทุนได้สูง เนื่องจากการ OverTrade มักเกิดกับมือใหม่ที่ไม่ได้วางแผนการเทรดที่ดีก่อนเข้าออเดอร์
ลักษณะอาการของคนที่ OverTrade
- หงุดหงิดเมื่อขาดทุน รู้สึกอยากเอาคืนไวๆ
- เทรดมั่วๆ โดยไม่มีระบบการเทรด
- ใส่ Lot Size มั่วๆ โดยไม่มีการคำนวณ Lot Size
- นั่งเฝ้ากราฟทั้งวัน
- เปลี่ยนระบบการเทรดไปเรื่อยๆ
- เปิดออเดอร์เยอะ โดยเหตุผลที่เข้าออเดอร์ในแต่ละออเดอร์นั้นแตกต่างกันออกไป
สาเหตุของการ OverTrade
1.ไม่คำนวณ Lot Size ก่อนเทรด
หากแต่ละครั้งที่คุณเทรดคุณกรอก Lot Size แบบมั่วๆ โดยนึกตัวเลขเอาเอง ก็แปลว่าคุณมีโอกาสสูงที่กำลัง OverTrade อยู่
2.ไม่มีระบบการเทรด
หากทุกวันนี้คุณกำลังเทรดอยู่แบบมั่วๆ ไม่ได้มีระบบเทรดที่สามารถทำซ้ำและวัดผลลัพธ์ได้ แปลว่าคุณเข้าข่ายการ OverTrade
เนื่องจากหากคุณไม่มีระบบเทรดแปลว่าคุณสามารถเปิดออเดอร์ได้ทั้งวันโดยการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเทรดไปเรื่อยๆ ซึ่งมันก็จะวัดผลการเทรดไม่ได้เลยว่าการที่คุณได้กำไรนั้นมันมาจาก Indicator หรือรูปแบบการเทรดอันไหน
วิธีแก้การ OverTrade
สาเหตุหลักของการ OverTrade คือการเทรดด้วย Lot Size ที่สูงจนเกินไป และการเทรดบ่อยจนเกินไป ซึ่งแก้ได้โดยการคำนวณ Lot Size ก่อนเทรดและการหาระบบเทรดที่ทำกำไรได้
1.คำนวณ Lot Size ก่อนเทรด
หากคุณคำนวณ Lot Size ก่อนการเทรดมันก็จะแก้ปัญหาการ OverTrade แบบเปิดออเดอร์โดยใช้ Lot Size สูงเกินตัวไปได้แบบ 100%
1.1.หาจำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์
ก่อนอื่นคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าคุณรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน
- เสี่ยงต่ำ: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 1 % ของเงินลงทุน
- เสี่ยงกลาง: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 5 % ของเงินลงทุน
- เสี่ยงสูง: ขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 10 % ของเงินลงทุน
เช่น ในตัวอย่างนี้ผมรับความเสี่ยงได้สูง คือขาดทุนแต่ละครั้งคิดเป็น 10 % ของเงินทุน
สมมุติผมมีทุน 100 USD
ก็นำ 100 x 10 % = 10
1.2.หาว่าจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่กี่จุด
เช่น ตัวอย่างนี้ผมจะเปิดออเดอร์ BUY คู่เงิน EURUSD ที่ราคา 1.10360 และจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่ 1.09774
ก็นำ 1.10360 – 1.09774 = 0.00586
ก็คือจะตั้ง Stop Loss (SL) ที่ 586 จุดนั่นเอง
(ดูวิธีนับจุด→ วิธีนับจุด Forex)
1.3.คำนวณ lot forex ที่เหมาะสม
สูตรคำนวณ lot forex ที่เหมาะสม = จำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์ ÷ จะตั้ง Stop Loss (SL) ที่กี่จุด
เช่น จำนวนเงินที่ขาดทุนได้ในแต่ละออเดอร์ของผมคือ 10 USD และผมจะตั้ง Stop Loss 586 จุด
จะได้ lot forex ที่เหมาะสม = 10 ÷ 586
= 0.017064
หากได้ทศนิยมมากกว่า 2 ตำแหน่งให้ตัดทิ้ง เอาแค่ทศนิยม 2 ตำแหน่งแรกเท่านั้น
จากตัวอย่างนี้จะได้ lot forex ที่เหมาะสมคือ 0.01 นั่นเอง
2.หาระบบเทรดที่ทำกำไรได้
หากคุณมีระบบเทรดที่ดีที่สามารถใช้ทำกำไรได้ ก็จะช่วยให้คุณไม่ซื้อๆขายๆบ่อย
เนื่องจากคุณจะเปิดออเดอร์เฉพาะตอนที่เงื่อนไขการเปิดออเดอร์ตรงกับระบบเทรดของคุณเท่านั้น
ช่วยแก้ปัญหาการเปิดออเดอร์บ่อยๆ ความหงุดหงิดอยากได้เงินคืน และลดเวลาในการเฝ้ากราฟทั้งวัน
ซึ่งระบบเทรด Forex นั้นก็มีเยอะมาก โดยคำแนะนำในการเลือกระบบเทรดก็คือ
ให้คุณเข้า Google, YouTube แล้วพิมพ์คำว่า “ระบบเทรด Forex”
ก็จะมีคนสอนระบบเทรดต่างๆไว้มากมาย
ต่อมาให้คุณนำระบบเทรดนั้นไปทดลองเทรดในบัญชีทดลอง (Demo Account) อย่างน้อยสัก 10 ออเดอร์
ถ้าหากผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือกำไร คุณก็สามารถนำระบบการเทรดนั้นไปใช้ในบัญชีเงินจริง (Real Account)
แนะนำสำหรับคุณ
มีคำถาม? ทัก LINE เลย
หรือแอดไลน์ไอดี: @sakainvest (มี @)